วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มะพร้าว



มะพร้าว

ที่มา : http://t1.gstatic.com/images

ชีววิทยาของมะพร้าว
อาณาจักร                                              Plantae
          ชื่อวิทยาศาสตร์                         Cocos nucifera Linn.
                     ชั้น                                    Liliopsida
                         วงศ์                               Arecaceae
                                สกุล                        Cocos
                                       สปีชีส์              C. nucifera

            มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนกผลประกอบด้วย เอพิคาร์ป(epicarp)คือเปลือกนอกถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป(mesocarp)หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป(endocarp) หรือ กะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3รูสำหรับงอกถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์มหรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าวภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าวซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมดขณะที่มะพร้าวยังอ่อนชั้นเอนโดสเปิร์ม(เนื้อมะพร้าว)ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อน นุ่มภายในมีน้ำมะพร้าวซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและ
เนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้นจนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น
            ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูงชะลูด ๗ - ๑๐ เมตร เปลือกลำต้นแข็ง ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเป็นแผ่นแคบยาว เรียงสลับกันเป็นรูปขนนกปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อตามบริเวณกาบที่หุ้ม ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ ๖ กลีบ ผล เป็นรูปกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๘ - ๙.๕ นิ้ว เปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา เนื้อผลมีสีขาวนุ่ม และมีน้ำใส รสจืดหรือหวาน
การปลูก มะพร้าวปลูกได้ดีในดินปนทราย ขยายพันธุ์โดยใช้ผล
          สรรพคุณทางยา 
           กะลา นำมาเผาให้เป็นถ่านดำ แล้วนำมาบดเป็นผงละเอียด ผสมน้ำดื่มวันละ ๓ - ๔ ครั้ง ครั้งละ ๐.๕ - ๑ ช้อนชา แก้ปวดกระดูกและเส้นเอ็น
           ดอก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ กล่อมเสมหะ บำรุงโลหิต และแก้ปากเปื่อย
           ราก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ หรืออมบ้วนปากแก้เจ็บคอ
           น้ำมันมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ใช้ทาบำรุงผม หรือทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน ทาผิวหนังแตกแห้ง แก้โรคผิวหนังต่างๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก โดยการเอาน้ำมันมะพร้าวมา ๑ ส่วน ใส่ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วยจนเข้ากันดีใช้ทาบริเวณแผลบ่อย ๆ
           น้ำมะพร้าว รับประทานเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิตและบวมน้ำ นอกจากนี้ยังทำเป็นน้ำส้มสายชูใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
            คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อมะพร้าวสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด หรือนำมาคั้นเอาน้ำกะทิประกอบอาหารคาวหวานได้หลากหลายชนิด เนื้อมะพร้าวประกอบไปด้วยน้ำมันถึง ๖๐ – ๖๕ % ในน้ำมันมีกรดไขมันหลายชนิด เนื้อมะพร้าวหั่นฝอยใส่น้ำเคี่ยวหรือตากแห้งแล้วเคี่ยวจะได้น้ำมันมะพร้าว
           ส่วนน้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางอาหารสูง รสหวาน หอม ชุ่มคอ ชื่นใจ ในน้ำมะพร้าวยังมีน้ำตาล โปรตีน โซเดียม แคลเซียม โปแตสเซียม แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตก็ไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าว
           คติความเชื่อ ตามตำราการปลูกต้นไม้ตามทิศในตำราพรหมชาติฉบับหลวง มะพร้าวเป็นไม้มงคลและกำหนดปลูกไว้ทางทิศตะวันออก (บูรพา) ด้วยความเชื่อว่าเมื่อปลูกไว้บริเวณบ้าน จะทำให้ไม่มีการเจ็บไข้ และอยู่เย็นเป็นสุข นิยมปลูกมะพร้าวน้ำหอมหรือมะพร้าวหมูสีเป็นหลัก เพราะออกผลเร็วและใช้รับประทานเป็นมะพร้าวอ่อนได้ดี
           มะพร้าวเป็นไม้ผลที่ต้องการพื้นที่ค่อนข้างมาก เนื่องจากมีทรงพุ่มที่แผ่กว้างและไม่สามารถตัดแต่งได้อีกทั้งมะพร้าวมีรากที่แข็งแรงและแผ่ขยายไปได้ไกล ทำให้ไม่นิยมปลูกในบ้านที่มีบริเวณบ้านน้อยหรือพื้นที่คับแคบ แต่สำหรับบ้านที่มีบริเวณบ้านมากพอก็สามารถปลูกได้ มะพร้าวให้ร่มเงาดี เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นโคนต้นจะโปร่งทำให้สามารถปลูกหญ้าที่บริเวณโคนต้นได้