วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กล้วยน้ำว้า


           กล้วยน้ำว้า
ชีววิทยาของกล้วยน้ำว้า
อาณาจักร                                              Plantae
          ชื่อวิทยาศาสตร์                          Musa sapientum Linn.
                     ชั้น                                    Musaceales
                         วงศ์                                Musaceae
                                สกุล                        Musa
                                       สปีชีส์              M. sapientum
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี อร่อยด้วย กล้วยน้ำว้ามีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ หรือ  กล้วยอ่อง

 สรรพคุณ
                                   สรรพคุณทางยา
                1. ยาง สมานแผลห้ามเลือด
                2. ผลดิบ รสฝาด ทั้งเปลือก หั้นตากแดด บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือ ปั้นเมล็ดรับประทาน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสียเรื้อรัง ผลกล้วยดิบทั้งเปลือก ใช้โรยรักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ
                3. ผลสุก รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
                4. เปลือกลูกดิบ รสฝาด สมานแผล เปลือกกล้วยหอมสุกเอาด้านในทาแก้ส้นเท้าแตก
                5. หัวปลี รสฝาด แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน
                6. น้ำคั้นจากหัวปลี รับประทานแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิต
ใบ รสเย็นจืด ต้มดื่ม แก้ไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้บิด แก้ผื่นคัน สมานภายใน
หยวก รสฝาดเย็น เผาไฟรับประทาน ขับพยาธิ
                7. เหง้า รสฝาดเย็น ปรุงยาแก้ริดสีดวงทวาร ชนิดมีเลือดออก หรือแผลภายในช่องทวาร
                               สรรพคุณอื่น ๆ
1. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการเจ็บหน้าอกจากการไอแห้ง ทานวันละ 5-6 ผล จะช่วยให้อาการระคายเคืองลดน้อยลงได้
2. ช่วยเรื่องกลิ่นปาก ทำให้ลดกลิ่นปากได้ดี วิธีรับประทานคือทานกล้วยน้ำว้าหลังตื่นนอนทันที แล้วค่อยแปรงฟัน จะช่วยลดกลิ่นปากได้
3. ช่วยเป็นยาระบายแก้ท้องผูก หรือระบบขับถ่ายไม่ปกติ วิธีรับประทานคือ ทานกล้วยน้ำว้าสุก 1-2 ผล ก่อนนอน และดื่มน้ำตามมากๆ จะช่วยให้ถ่ายท้องได้ดีในวันรุ่งขึ้น
4. ช่วยแก้ท้องเดิน หรือ ท้องเสียได้ ในกล้วยน้ำว้าจะมีสารเทนนิน ซึ่งสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรงได้ โดยการน้ำ กล้วยน้ำว้าดิบ หรือ กล้วยน้ำว้าห่าม มาปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2- 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชม. ใน 4-5 ชม.แรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชม. หรือ วันละ 3-4 ครั้ง
 5. ช่วยรักษาโรคกระเพาะได้ นำกล้วยน้ำว้าดิบมาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ แตกแดด 2 วัน ให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว หรือน้ำผึ้ง ทานก่อนอาหาร ครึ่งชม. หรือก่อนนอนทุกวัน
6. เปลือกกล้วยน้ำว้า ช่วยบรรเทาอาการคันอันเนื่องมาจากแมลงกัดต่อย และผื่นแดงจากอาการคันได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการ ต้านเชื้อรา และ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนอง